วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

หน่ยวที่1

                                                     บทที่1

1.1 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในบทนี้จะกล่าวถึง ความหมายของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ประโยชน์ที่มนุษย์นำมาใช้ด้านต่างๆ

1.1.1 ความหมายของของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ ทำให้สามารถทำงานไปได้โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคำนวณหรือการทำงานต่างๆได้เกือบทุกชนิด คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและประมวลผลข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติ ประการ คือ
ความเร็ว (Speed) เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วสูงมาก หน่วยความเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์วัดเป็น
       - มิลลิเซกัน (Millisacond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000 วินาที
       - ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที
       - นาโนเซกัน (Nanosacond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที

หน่วยความจำ (Memory) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยความจำ สามารถใช้บันทึกและเก็บข้อมูลได้คราวละมากๆ สามารถเก็บคำสั่งต่อๆ กันที่เราเรียกว่า โปรแกรม และนำมาประมวลในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเก็บข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถประมวลผลได้เร็วและถูกต้อง

          
ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะ นอกจากจะมีความสามารถในการคำนวณแล้วยังมีความสามารถในการเปรียบเทียบ ความสามารถนี้เองที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และคุณสมบัตินี้ที่ทำให้นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นใช้อย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์ยังมีความแม่นยำในการคำนวณ มีความเที่ยงตรงแม้จะทำงานเหมือนเดิมซ้ำกันหลายรอบ และสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ อีกด้วย

         

1.1.2 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

การใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์กระจายไปอยู่ในทุกวงการ
        - ด้านธุรกิจ ได้แก่การนำคอมพิวเตอร์มาประมวลงานด้านธุรกิจ
        - ด้านการธนาคาร ปัจจุบันทุกธนาคารจะนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานในองค์กรของตนเพื่อให้บริการลูกค้า
        - ด้านตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ จะมีข้อมูลจำนวนมากและต้องการความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
        - ธุรกิจโรงแรม ระบบคอมพิวเตอร์สามารถใช้ในการบริหารโรงแรม การจองห้องพัก การติดตั้งระบบ Online ตามแผนกต่างๆ
        - การแพทย์ มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ทะเบียนประวัติคนไข้,ระบบข้อมูลการให้ภูมิคุ้มกันโรค,สถิติด้านการแพทย์,ด้านการบัญชี
        - วงการศึกษา การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับสถาบันการศึกษาจะมี ระบบงานที่เกี่ยวกับ การเรียนการสอน การวิจัย การบริหาร
        - ด้านอุตสาหกรรมทั่วไป
        - ด้านธุรกิจสายการบิน สายการบินต่างๆทั่วโลกได้นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะงานการสำรองที่นั่งและเที่ยวบิน
        - ด้านการบันเทิง เช่น วงการภาพยนตร์ การดนตรี เต้นรำ

1.1.3 ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

         เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology และมีผู้นิยมเรียกทับศัพท์ย่อว่า IT สุชาดา กีระนันท์ (2541) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้าร่วมกัน ในกระบวนการจัดเก็บสร้าง และสื่อสารสนเทศ ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญสองสาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศจะครอบคลุมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผลสืบค้น ส่งและรับข้อมูลในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกและค้นคืน เครือข่ายสื่อสาร ข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม รวมทั้งระบบที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้

ครรชิต มาลัยวงศ์ (2541) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญ ดังนี้
                 1. สามารถจัดเก็บข้อมูลจากจุดเกิดได้อย่างรวดเร็ว
                 2. สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมากๆไว้ใช้งานหรือไว้อ้างอิงการดำเนินงานหรือการตัดสินใจใดๆ
                 3. สามารถคำนวณผลลัพธ์ต่างๆได้รวดเร็ว
                 4. สามารถสร้างผลลัพธ์ได้หลากหลายรูปแบบ
                 5. สามารถส่งสารสนเทศ ข้อมูล หรือผลลัพธ์ที่ได้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

1.2 ชนิดของคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้ คือ

1.2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Super Computer

เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง
ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้ คือ
หมายถึง คอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ที่มีสมรรถนะสูง มีความเร็วในการทำงาน และประสิทธิ
ภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์เคมี งานทำแบบจำลองโมเลกุลของสารเคมี งานด้านวิศวกรรมการออกแบบ งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคารที่ซับซ้อน ซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
          

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มากๆ สามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อมๆ กัน โดยที่งานเหล่านั้นอาจจะเป็นงานที่แตกต่างกัน อาจจะเป็นงานใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปให้หน่วยประมวลผลแต่ละตัวทำงานก็ได้ และยังใช้โครงสร้างการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลายๆ ตัวหรือหลายๆ งานในเวลาเดียวกันได้พร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความสามารถในการทำงานแบบมัลติโปรเซสซิง (Multiprocessing) หรือความสามารถในการทำงานหลายงานพร้อมๆกันได้ ดังนั้น จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer)
ความเร็วในการคำนวณของซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะมีการวัดหน่วยเป็น นาโนวินาที(nanosecond) หรือเศษหนึ่งส่วนพันล้านวินาที และ กิกะฟลอป (gigaflop) หรือการคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งในหนึ่งวินาที ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ

1.2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ Mainframe Computer

หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีสมรรถะสูง แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีความเร็วสูงมาก มีหน่วยความจำขนาดมหึมา เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคน ที่ใช้โปรแกรมที่แตกต่างกันนับร้อยพร้อมๆ กันได้ เหมาะกับการใช้งานทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ


         
เครื่องเมนเฟรมได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยพร้อมๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่จะมีจำนวนหน่วยประมวลที่น้อยกว่า และเครื่องเมนเฟรมจะวัดความเร็วอยู่ในหน่วยของ เมกะฟลอป (Megaflop) หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที
         
ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมจึงอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมากเช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐาน เครื่องเมนเฟรมจะเก็บโปรแกรมของผู้ใช้เหล่านั้นไว้ในหน่วยความจำหลัก และมีการสับเปลี่ยนหรือสวิทช์การทำงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้จะไม่รู้สึกเลยว่าเครื่องเมนเฟรมที่ใช้ มีการสับเปลี่ยนการทำงานไปทำงานของผู้ใช้คนอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา หลักการที่เครื่องเมนเฟรมสามารถทำงานหลายโปรแกรมพร้อมๆ กันนั้นเรียกว่า มัลติโปรแกรม-มิง (Multiprogramming)

1.2.3 มินิคอมพิวเตอร์

หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง มีสมรรถนะต่ำกว่าเครื่องเมนเฟรม แต่สูงกว่าเวิร์คสเตชัน จุดเด่นที่สำคัญ คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม และการใช้งานใช้บุคลากรไม่มากนักมินิคอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1960 ต่อมาบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ ประกาศตัวมินิ คอมพิวเตอร์ DEC PDP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ.1965
          
         ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมากเครื่องมินิ คอมพิวเตอร์ใช้หลักการของมัลติโปรแกรมมิงเช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม โดยจะสามารถรองรับผู้ใช้ได้นับร้อยคนพร้อมๆกัน แต่เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ช้ากว่า การควบคุมผู้ใช้งานต่างๆ ทำน้อยกว่า สื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรม

การทำงานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการแสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้น ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่นๆ ได้ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ชนิดที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูลหน่วยประมวลผล หน่วย แสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องไปแย่งเวลาการเรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่น

1.2.4 เวิร์คสเตชั่น และไมโครคอมพิวเตอร์

         
          คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียว สามารถแบ่งออกเป็นสองรุ่น คือ เวิร์คสเตชัน หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ถูกออกแบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ สามารถทำงานพร้อมกันได้หลายงาน และประมวลผลเร็วมาก มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟิก เช่น นำมาช่วยในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วน เป็นต้น ซึ่งจากการที่ต้องทำงานกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย เวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปประเภทRISC (Reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง

         
      
         ไมโครคอมพิวเตอร์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้งานคนเดียว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้งละคนเดียว หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer)

1.3 การทำงานของคอมพิวเตอร์

      คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทำงานได้เร็ว สะดวก และแม่นยำมากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานอย่างได้มีประสิทธิภาพ จึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ส่วนประกอบ วิธีการทำงานของ คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสำคัญคือ
      ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคำสั่ง คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล คือ เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน ฯลฯ
      ขั้นตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคำนวณ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) ตามคำสั่งของโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล เช่น นำข้อมูลมาบวก ลบ คูณ หาร ทำการเรียงลำดับข้อมูล นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาผลรวม เป็นต้น
       ขั้นตอนที่ 3 การแสดงผลลัพธ์ คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้อน หรือแสดงผลจากการประมวลผล ทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) หรือลำโพง
       ขั้นตอนที่ 4 การเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy disk) ซีดีรอม เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต

1.3 การทำงานของคอมพิวเตอร์

      คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทำงานได้เร็ว สะดวก และแม่นยำมากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานอย่างได้มีประสิทธิภาพ จึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ส่วนประกอบ วิธีการทำงานของ คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสำคัญคือ
      ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคำสั่ง คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล คือ เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน ฯลฯ
      ขั้นตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคำนวณ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) ตามคำสั่งของโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล เช่น นำข้อมูลมาบวก ลบ คูณ หาร ทำการเรียงลำดับข้อมูล นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาผลรวม เป็นต้น
       ขั้นตอนที่ 3 การแสดงผลลัพธ์ คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้อน หรือแสดงผลจากการประมวลผล ทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) หรือลำโพง
       ขั้นตอนที่ 4 การเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy disk) ซีดีรอม เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต

1.4.1 จอภาพ (Monitor)

                   

               อาจเรียกทับศัพท์ว่า มอนิเตอร์ (Monitor), สกรีน (Screen), ดิสเพลย์ (Display) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว จอภาพในปัจจุบันส่วนมากใช้จอแบบหลอดภาพ (CRT หรือ Cathode Ray Tube) เหมือนจอภาพของเครื่องรับโทรทัศน์ และจอแบบผลึกเหลว (LCD หรือ Liquid Crystal Display) มีลักษณะเป็นจอแบน
1.4.2 ตัวเครื่อง (Computer Case)
เป็นส่วนที่เก็บอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น CPU, Disk Drive, Hard Disk ฯลฯ
1.4.3. คีย์บอร์ด (Keyboard) 
                  หรือแป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้พิมพ์คำสั่ง หรือป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ดมีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ดีด แต่จะมีปุ่มพิมพ์มากกว่า

1.4.4 เมาส์ (Mouse)

                   

                  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชี้ตำแหน่งต่างๆบนจอภาพ ซึ่งจะเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เช่นเดียวกับการป้อนคำสั่งทางคีย์บอร์ด เมื่อเลื่อนเมาส์ไปมาจะทำให้เครื่องหมายชี้ตำแหน่งบนจอภาพ (Cusor) เลื่อนไปในทิศทางเดียวกันกับที่เลื่อนเมาส์นั้น
1.4.5 เครื่องพิมพ์ (Printer)

                   

                 เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลออกมาทางกระดาษ เครื่องพิมพ์มีหลายแบบ เช่น เครื่องพิมพ์จุด (Dot Matrix Printer) เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) และเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet Printer) เป็นต้น
1.4.6 สแกนเนอร์ (Scanner)
                 เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยเอารูปภาพหรือข้อความมาสแกน แล้วจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ภาพ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป เครื่องสแกนมีทั้งชนิด อ่านได้เฉพาะภาพขาวดำ และชนิดอ่านภาพสีได้ นอกจากนี้ยังมีชนิดมือถือ
 1.4.7 โมเด็ม (Modem)
                  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถส่งไปตามสายโทรศัพท์ได้ และแปลงข้อมูลจากสายโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ได้

2. ฮาร์ดแวร์

    คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญคือ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

2.1 หน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit)

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit – CPU) หรืออาจเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์(Microprocessor) หรือชิป (Chip) เป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ ประมวลผล และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นในระบบ ลักษณะของซีพียูจะเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กมาก ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว ตัวอย่างเช่น ซีพียูรุ่นเพนเทียมจะมีทรานซิสเตอร์เล็กๆจำนวนมากถึง 3.1 ล้านตัว
             

ซีพียูมีหน่วยที่ใช้ในการบอกขนาดเรียกว่า บิต (Bit) ถ้าจำนวนบิตมากจะสามารถทำงานได้เร็วมากความเร็วของซีพียู (Speed) มีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮริตซ์ (MHz = MegaHertz) ถ้าค่าตัวเลขยิ่งสูงแสดงว่ายิ่งมีความเร็วมาก ปัจจุบันความเร็วของซีพียูสามารถทำงานได้ถึงระดับกิกะเฮริตซ์ (GHz = Gigahertz) โดยมีความเร็วระหว่าง 2-3 GHz ในการเลือกใช้ซีพียู ผู้จำหน่ายจะบอกไว้ว่าเครื่องรุ่นนี้มีความเร็วเท่าใด เช่น Pentium IV 2.8 GHz หมายความว่า CPU รุ่นเพนเทียม IV มีความเร็ว 2.8 กิกะเฮิรตซ์

2.1.1 องค์ประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง "ไมโครโปรเซสเซอร์" (Microprocessor) ประกอบด้วยหน่วยสำคัญสองหน่วย คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางระบบประสาท ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะรับรู้คำสั่งต่างๆ ในรูปของคำสั่งภาษาเครื่องเท่านั้น
               หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) หรือที่เรียกสั้นๆว่า เอแอลยู (ALU)ทำหน้าที่ประมวลผลการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนการเปรียบเทียบทางตรรกะทั้งหมด
    
การทำงานในซีพียูมี รีจิสเตอร์ (Register) คอยทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลหรือคำสั่งที่ถูกนำเข้ามาปฏิบัติการภายในซีพียู รวมทั้งมี บัส (Bus) เป็นเส้นทางในการส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้าของหน่วยต่างๆภายในระบบ

2.2 อุปกรณ์นำเข้า (Input devices)

      ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ที่พบเห็นอยู่ทั่วไปได้แก่

2.2.1 อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device)

แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นหน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูลสำหรับเทอร์มินัล และไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายแป้นของเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีจำนวนแป้นมากกว่า และถูกแบ่งออกเป็น กลุ่มด้วยกันคือ
         - แป้นอักขระ (Character Keys) มีลักษณะการจัดวางตัวอักษรเหมือนแป้นบนเครื่องพิมพ์ดีด
         - แป้นควบคุม (Control Keys) เป็นแป้นที่มีหน้าที่สั่งการบางอย่างโดยใช้งานร่วมกับแป้นอื่น
         - แป้นฟังก์ชัน (Function Keys) คือ แป้นที่อยู่แถวบนสุด มีสัญลักษณ์เป็น F1,...F12 ซอฟต์แวร์แต่ละชนิดอาจกำหนดแป้นเหล่านี้ให้มีหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป
         - แป้นตัวเลข (Numeric Keys) เป็นแป้นที่แยกจากแป้นอักขระมาอยู่ทางด้านขวา มีลักษณะคล้ายเครื่องคิดเลข ช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกตัวเลขเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้ ยังมีแป้นพิมพ์บางประเภทที่ออกแบบมาให้ใช้กับงานเฉพาะด้าน เช่น แป้นพิมพ์ที่ใช้ในร้านอาหารแบบเร่งด่วน (fast food restaurant) จะใช้พิมพ์เฉพาะชื่ออาหาร เช่น ถ้าต้องการ french fries ก็กดที่แป้นคำว่า “French fries” ตามด้วยราคาเท่านั้น หรือแป้นพิมพ์ที่ใช้เครื่องฝาก-ถอนอัตโนมัติ(Automatic Teller Machine) เป็นต้น

2.2.2 อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง Pointing Devices

         เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง (Cursor) บนจอภาพ มีหลายขนาดและมี รูปร่างต่างกันไป แต่ที่นิยมใช้จะมีขนาดเท่าฝ่ามือ มีลูกกลมกลิ้งอยู่ด้านล่าง หรือเป็นระบบแสง ส่วนด้านบนจะมีปุ่มให้กดจำนวนสอง สาม หรือสี่ปุ่ม แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ สองปุ่ม ใช้ส่งข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำหลักโดยการเลื่อนเมาส์ให้ลูกกลมด้านล่างหมุน เพื่อเป็นการเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการทำให้การโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้รวดเร็วกว่าแป้นพิมพ์ ผู้ใช้อาจใช้เมาส์วาดรูป เลือกทาง เลือกจากเมนู และเปลี่ยนแปลงหรือย้ายข้อความ ปัจจุบันเมาส์ได้มีการพัฒนาเป็นแบบเมาส์ไร้สาย อย่างไรก็ดี เมาส์ยังไม่สามารถใช้ในการป้อนตัวอักษรได้ จึงยังคงต้องใช้คู่กับแป้นพิมพ์ในกรณีที่มีการพิมพ์ ตัวอักษร แต่สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ การใช้เมาส์เพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยกว่าการใช้แป้นพิมพ์
              
ลูกกลมควบคุม (Trackball) เป็นอุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง โดยจะเป็นลูกบอลเล็กๆซึ่งอาจวางอยู่หน้าจอภาพในเนื้อที่ของแป้นพิมพ์ หรือเป็นอุปกรณ์ต่างหากเช่นเดียวกับเมาส์ เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์
             
แท่งชี้ควบคุม (Track Point) เป็นอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งขนาดเล็ก นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาจะเป็นแท่งพลาสติกเล็กๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ บังคับโดยใช้นิ้วหัวแม่มือเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์
                    แผ่นรองสัมผัส จะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์

              
จอยสติก (Joy stick) จะเป็นก้านสำหรับใช้โยกขึ้นลง/ซ้ายขวา เพื่อย้ายตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์ แต่จะมีแป้นกดเพิ่มเติมมาจำนวนหนึ่งสำหรับสั่งงานพิเศษ นิยมใช้กับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์
 

2.2.3 จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส
         จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen) เป็นจอภาพแบบพิเศษซึ่งผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงบนจอภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้ เพื่อเลือกการทำงานที่ต้องการ นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น

2.2.4 ระบบปากกา (Pen-Based System)

         ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สัมผัสกับจอภาพเพื่อชี้ตำแหน่งและวาดข้อมูล โดยใช้เซลล์ แบบ photoelectric ซึ่งมีความไวต่อแสงเป็นตัวกำหนดตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถใช้วาดลักษณะหรือรูปแบบของข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพ การใช้งานทำได้โดยการแตะปากกาแสงไปบนจอภาพตามตำแหน่งที่ต้องการนิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ (CAD หรือ Computer Aided Design) รวมทั้งนิยมใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลโดยการเขียนด้วยมือในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA เป็นต้น

          
    
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูประบบปากกา (Pen-Based System)

2.2.5 อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Devices)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ระบบการวิเคราะห์แสง (Optical recognition Systems) ช่วยให้มีการพิมพ์ข้อมูลเข้าน้อยที่สุด โดยจะอ่านข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการใช้ลำแสงกวาดผ่านข้อความ หรือสัญลักษณ์ต่างๆที่พิมพ์ไว้ เพื่อนำไปแยกแยะรูปแบบต่อไป ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในงานต่างๆกันมาก โดยมีอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยม คือ
         เครื่องอ่านรหัสบาร์โคด (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายปากกาแสง ใช้ฉายแสงลงไปที่รหัสแท่งที่ต้องการอ่าน ซึ่งรหัสสินค้าต่างๆจะอยู่ในรูปของแถบสีดำและขาวต่อเนื่องกันไป เรียกว่ารหัสบาร์โคด เครื่องอ่านรหัสบาร์โคดจะอ่านข้อมูลบนแถบบาร์โคด เพื่อเรียกข้อมูลจากรายการสินค้านั้น เช่นราคาสินค้า จำนวนที่เหลืออยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ออกมาจากฐานข้อมูล แล้วจึงทำการประมวลผลข้อมูลรายการนั้น ในปัจจุบัน บาร์โคคได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องทำการพิมพ์ข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ จึงลดความผิดพลาดของข้อมูลและประหยัดเวลาได้มาก ระบบบาร์โคดเป็นสิ่งที่ผู้ใช้จะพบเห็นในชีวิตประจำวันได้บ่อยที่สุด เช่น ในห้างสรรพสินค้า ร้านขายหนังสือ และห้องสมุด เป็นต้น

              
สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือสแกน (Scan) ข้อมูลบนเอกสารเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีส่องแสงไปยังวัตถุที่ต้องการ แสงที่ส่องไปยังวัตถุแล้วสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ เซลล์ไวแสง (Charge-Coupled Device หรือ CCD) ซึ่งจะทำการตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุและแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลทางดิจิตอล เอกสารที่อ่านอาจจะประกอบด้วยข้อความหรือรูปภาพกราฟิกก็ได้
              
         กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital camera) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับถ่ายภาพแบบไม่ต้องใช้ฟิล์ม โดยเก็บภาพที่ถ่ายไว้ในลักษณะดิจิตอลด้วยอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) ภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุดเล็กๆ จำนวนมาก และสามารถนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์สแกนเนอร์อีกเป็นอุปกรณ์ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่ต้องใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพและสามารถดูผลลัพธ์ได้จากจอที่ติดอยู่กับกล้องได้ในทันที

                        
กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหว และเก็บเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล นิยมใช้ในการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (Video conference) ซึ่งเป็นการประชุมแบบกลุ่มผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น อย่างไรก็ดีกล้องถ่ายทอดวีดีโอแบบดิจิตอลยังอยู่

              

2.3 อุปกรณ์แสดงผล (Output devices)

      หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ
2.3.1 หน่วยแสดงผลชั่วคราว

หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ
         จอภาพ (Monitor) ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมากมาย เรียกจุดเหล่านั้นว่า จุดภาพ (pixel) ถ้ามีจุดภาพจำนวนมากก็จะทำให้ ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ 

                    

                    - จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบันใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับโทรทัศน์
                    - จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display) เป็นจอภาพที่มีลักษณะบาง น้ำหนักเบาและกินไฟน้อย แต่มีราคาสูง เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปัจจุบันจะมีสองแบบคือ Passive Matrix ซึ่งมีราคาต่ำแต่ขาดความคมชัดและอาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผู้ใช้มองจากบางมุม ส่วน Active Matrix หรือบางครั้งอาจเรียกว่าThin Film Transistor (TFT) จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูงกว่ามาก ในส่วนความละเอียดของจอภาพ ปัจจุบัน นิยมใช้จอภาพชนิดสีแบบ Super Video Graphic Adapter หรือเรียกสั้นๆว่า ซูเปอร์วีจีเอ (Super VGA) ซึ่งมีความละเอียด 800x600 จุดภาพ สำหรับจอภาพที่มีความละเอียดต่ำ (low resolution) ส่วนจอภาพที่มีความละเอียดสูง จะนิยมใช้ความละเอียดที่ 1024x768, 1280x1024 หรือ1600x1200 จุดภาพ (pixel) ซึ่งจะให้ความคมชัดที่สูงมาก

         
         ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาพดูคมชัดมากขึ้นถึงแม้ว่าจะมีจำนวนจุดภาพเท่ากัน ก็คือ ระยะห่างระหว่างจุดภาพ (dot pitch) โดยระยะห่างระหว่างจุดภาพน้อยก็จะให้ความละเอียดได้มากกว่า จอภาพที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบันมีระยะห่างระหว่างจุดภาพอยู่ระหว่าง 0.25-0.28 หน่วย ซึ่งระยะห่างระหว่างจุดภาพนี้เป็นสิ่งที่ติดมากับเครื่องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในส่วนของจำนวนสีนั้น ณ ขณะใดขณะหนึ่งแต่ละจุดภาพจะแสดงสีได้เพียงสีเดียวเท่านั้น ซึ่งสีต่างๆ จะถูก
แทนด้วยตัวเลข ดังนั้น ถ้าจอภาพแสดงได้ 16 สี เลขเหล่านั้นก็จะแทนด้วย บิต ถ้าต้องการแสดงถึง 256 สี ก็จะต้องใช้ บิตแทนรหัสสีนั้นๆ
          การ์ดวิดีโอ (Video Card) การต่อจอภาพเข้ากับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีแผงวงจรกราฟิก (Graphic Adapter Board) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การ์ดวีดีโอ (video card) ซึ่งจอภาพแต่ละชนิดต้องการแผงวงจรที่ต่างกัน แผงวงจรกราฟิกจะถูกเสียบเข้ากับ ช่องขยายเพิ่มเติม (expansion slot) ในคอมพิวเตอร์แผงวงจรกราฟิกมักจะมีหน่วยความจำเฉพาะที่เรียกว่า หน่วยความจำวีดีโอ (video memory) เพื่อให้ใช้โปรแกรมด้านกราฟิกได้สวยงามและรวดเร็ว ซึ่งหน่วยความจำนี้อาจใช้แรมธรรมดาหรือแรมแบบพิเศษต่างๆ เพื่อให้
สามารถทำงานได้เร็วขึ้น เช่น วีดีโอแรม (video RAM) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า วีแรม (VRAM) เป็นต้น
                


          ปัจจัยประการหนึ่งที่ผู้ใช้จอภาพต้องคำนึง คือ อัตราการเปลี่ยนภาพ (refresh rate) ของการ์ดวีดีโอโดยภาพที่แสดงบนจอภาพแต่ละภาพนั้นจะถูกลบและแสดงภาพใหม่เริ่มจากบนลงล่าง หากอัตราการเปลี่ยนภาพในแนวดิ่ง (Vertical-refresh rate) เป็น 60 ครั้งต่อวินาที หรือ 60 Hz จะเกิดการกระพริบทำให้ผู้ใช้ปวดศีรษะได้มีผู้วิจัยพบว่า อัตราเปลี่ยนภาพในแนวดิ่งไม่ควรต่ำกว่า 70 Hz จึงจะไม่เกิดการกระพริบ และทำให้ผู้ใช้ดูจอภาพได้อย่างสบายตา นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับถอดรหัสภาพแบบMPEG (Motion Picture Experts) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ที่ติดอยู่บนการ์ดวีดีโอ อันจะทำให้สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง
          อุปกรณ์เสียง (Audio Output) คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบด้วย ลำโพง(speaker) และ การ์ดเสียง (sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ เช่น ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น รวมทั้งสามารถเล่นเกมส์ที่มีเสียงประกอบได้อย่างสนุกสนาน โดยลำโพงจะมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียงเช่นเดียวกับลำโพงวิทยุ ส่วนการ์ดเสียงจะเป็นแผงวงจรเพิ่มเติมที่นำมาเสียงกับช่องเสียบขยายในเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่านลำโพง รวมทั้งสามารถต่อไมโครโฟนเข้ามาที่การ์ดเพื่อบันทึกเสียงเก็บไว้ด้วย
           
         

2.3.2 หน่วยแสดงผลถาวร

         หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้องและเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการมักจะออกมาในรูปของกระดาษเช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก มีให้เลือกหลายชนิดขึ้นอยู่กับคุณภาพของตัวอักษร ความเร็วในการพิมพ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งาน เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้ ชนิด คือ
         
เครื่องพิมพ์แบบกระทบหรือตอก (Impact printer) เป็นการใช้หัวเข็มตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษแต่ละแผ่นได้ ส่วนข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ไม่ดีนัก

           

         
เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบหรือไม่ตอก (Nonimpact printer) เป็นการพิมพ์โดยใช้หมึกพ่นไปบนกระดาษหรือใช้ความร้อนและความดันเพื่อละลายหมึกให้เป็นลักษณะของอักขระ เป็นการพิมพ์ที่เร็วและคมชัดกว่าแบบกระทบ และพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและภาพกราฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถพิมพ์กระดาษแบบสำเนา (copy) ได้

               
         เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) ทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือ มีแสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีรุ่นต่างๆที่แตกต่างกันในด้านความเร็ว และความละเอียดของงานพิมพ์ ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ได้ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi)

               
         เครื่องพิมพ์พ่นหมึก (Inkjet printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะพิมพ์สีได้ ถึงแม้จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดตอก และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ นิยมนำมาใช้งานตามบ้านอย่างมาก

               
         เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) ใช้วาดหรือเขียนภาพสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูงๆ นิยมใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มีให้เลือกหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจำนวนปากกาที่ใช้เขียนในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดา

         

 



 3. หน่วยความจำ Memory
    อุปกรณ์ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งที่คอมพิวเตอร์จะขาดไม่ได้คือ หน่วยความจำ Memory ซึ่งมีหลายประเภท ตามลักษณะการทำงาน ดังนี้

3.1 หน่วยความจำรอม (ROM) และ (RAM)

      คำว่า ROM ย่อมาจาก Read Only Memory เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลแบบถาวร รอมที่ใช้บันทึกข้อมูลของอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด เช่น ขนาดและประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ ขนาดของแรม หน่วยประมวลผลที่ใช้การติดตั้งหน่วยขับแผ่นบันทึก (Floppy drive) เป็นต้น ข้อมูลที่บันทึกในรอม จะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่อง หน้าที่ของรอมคือจะตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ใดบ้าง ที่ติดตั้งใช้งาน หากตรวจสอบไม่อุปกรณ์ที่สำคัญๆ เช่น ไม่พบฮาร์ดดิสก์ ซีพียู หรือแรม รอมจะหยุดการทำงาน

     
           
       คำว่า RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็น หน่วยเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ แต่ข้อมูลจะสูญหายทันที เมื่อปิดเครื่อง ในการใช้งานจริง จึงต้องบันทึกข้อมูลไว้ในฮาร์ดดิสก์ก่อนปิดเครื่อง
      หน่วยความจำแรม มีหน่วยวัดเป็น ไบต์ (byte) ซึ่งถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าจะนิยมใช้หน่วยความจำแรมหรือ 16 เมกะไบต์ (Megabyte) แต่ถ้าเป็นเครื่องรุ่นใหม่ๆ จะใช้แรมขนาด 128 หรือ 256 MB ขึ้นไป ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมรุ่นใหม่ หรือกับแฟ้มข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ๆ เช่น งานมัลติมีเดียหรืองานกราฟิกได้

3.2 DRAM (ดีแรม) และ SDRAM (เอสดีแรม)

      DRAM เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่อง นิยมใช้มากในสมัยก่อนเพราะราคาไม่แพง แต่ทำงานได้ช้ามากปัจจุบันมีการใช้ SDRAM (Synchronous DRAM) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ในสมัยก่อนอาจจะมีราคาสูง แต่ปัจจุบันราคาได้ถูกลงมาก คนจึงนิยมใช้ SDRAM มากขึ้น
         
      SIMM (ซิม) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับติดตั้งหน่วยความจำ ติดตั้งบนเมนบอร์ด เราสามารถเพิ่มจำนวนแรมโดยเสียบแผงวงจรเข้ากับซิมนี้ เพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มแรมได้อย่างง่ายๆสะดวก รวดเร็วและสามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนั้นข้อจำกัดของการเพิ่มแรม คือ จำนวนช่องของ SIMM และขนาดของแรมแต่ละแผงที่นำมาเสียบลงบน SIMM

3.3 หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)

      หมายถึง หน่วยความจำประเภทหนึ่งใช้สำหรับแสดงผล เป็นหน่วยความจำที่ถูกสร้างขึ้นมาในกรณีที่หน่วยความจำแรมไม่พอใช้ โดยระบบปฏิบัติการจะมีการนำเอาพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์บางส่วนมาเป็นพื้นที่ทำงานชั่วคราวในขณะเปิดแฟ้มข้อมูล และจะลบทิ้งเมื่อปิดแฟ้มข้อมูล เราจึงเรียกว่า หน่วยความจำเสมือน” ข้อเสียของการใช้หน่วยความจำเสมือนคือ ถ้าพื้นที่ว่างมีน้อยกว่าที่กำหนดไว้ คอมพิวเตอร์จะทำงานช้าลง การใช้งานฮาร์ดดิสก์จึงมักจะให้มีเนื้อที่ที่ไม่ได้ใช้งาน เหลือไว้ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ 
         
      ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น เราจะต้องเลือกขนาดของแรมที่เหมาะสม โดยเฉพาะโปรแกรมปฏิบัติการ (OS) รุ่นใหม่ๆ เช่น Windows 98, Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการขนาด 32 บิต ต้องใช้แรม 64 MB ขึ้นไป หากใช้แรมน้อยกว่านี้เครื่องอาจจะทำงานช้ามากหรืออาจหยุดชะงักได้ง่าย

3.4 หน่วยความจำแคช (Memory Cache) และ บัส (Bus)

      หน่วยความจำแคชเป็นหน่วยความจำที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น เป็นการเก็บข้อมูลที่เราเคยเรียกใช้แล้วเอาไว้ในกรณีที่เราต้องการเรียกใช้ก็มาเรียกข้อมูลจากแคช ซึ่งจะดึงข้อมูลได้เร็วกว่าหน่วยความจำดิสก์มาก
               

หน่วยความจำแคช มี ประเภท คือ
      1. แคชภายใน ติดตั้งอยู่ภายในซีพียู เวลาเครื่องประมวลผล ก็จะเรียกเก็บข้อมูลที่เก็บไว้ที่แคชใกล้ๆ ซีพียูมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
      2. แคชภายนอก จะติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดเหมือนแรม ถ้าเครื่องไม่พบแคชในซีพียูก็จะมองหาแคชภายนอก ถ้าพบก็จะนำมาใช้งาน ซึ่งก็จะทำงานได้ช้ากว่าแคชภายในอยู่บ้าง

                


เป็นเส้นทางวิ่งระหว่างข้อมูลหรือคำสั่ง การวัดขนาดความกว้างของ บัส เราเรียกว่า บิต” 8 บิต เท่ากับ ไบต์ หรือ ตัวอักษร ส่วนความเร็วของ บัส วัดด้วยหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (Mhz) หรือหนึ่งล้านรอบต่อวินาที บัสที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ บัสแบบ PCI (Peripheral Component Interconnect) มีความกว้างของสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลถึง 32 หรือ 64 บิต ความเร็วมากกว่า 300 MHz ขึ้นไป นอกจากนี้ PCI ยังสนับสนุนคุณสมบัติPlug and Play ที่ใช้ในการติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ใหม่ด้วย

3.5 หน่วยข้อมูลสำรอง

       คอมพิวเตอร์หรือซีพียูจะเรียกใช้ข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลหลัก คือ แรมก่อน หากข้อมูลที่ต้องการไม่มีในแรม ก็จะทำการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองไปเก็บไว้ที่แรม เพราะหน่วยเก็บข้อมูลสำรองสามารถจะเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ แม้ว่าจะปิดเครื่อง และเก็บข้อมูลได้มากกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งออกเป็น แผ่นบันทึก (Floppy Disk) หรือที่นิยมเรียกว่า ดิสเก็ตต์ (diskette) มีลักษณะเป็นแผ่นแม่เหล็ก ทรงกลม มีพลาสติกแข็งเป็นกรอบสี่เหลี่ยมครอบไว้ชั้นนอก ขนาด 3.5 นิ้ว สามารถจุข้อมูลได้ 1.44 MB ก่อนการใช้งาน
จะต้องทำการฟอร์แมตแผ่นก่อน ปัจจุบันแผ่นดิสเก็ตต์จะฟอร์แมตมาจากโรงงานผู้ผลิตแล้ว สามารถนำมาใช้งานได้ทันที การใช้งานจะเสียบใส่ในเครื่องขับแผ่นบันทึก (Floppy Drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อ่านและเขียนแผ่นดิสก์ ติดตั้งอยู่ภายในตัวถังของเครื่อง แผ่นบันทึก (Floppy disk) เก็บข้อมูลได้ไม่มากนัก เหมาะสำหรับการพกพา เพราะมีขนาดเล็กสามารถนำข้อมูลไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้สะดวก

             
      

จานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปี้ดิสก์หลายล้านเท่า ฮาร์ดดิสก์ติดตั้งในตัวเครื่อง มีขนาดประมาณ 3.5 นิ้ว แต่มีความหนากว่าฟลอปปี้ดิสก์ มีตัวอ่านข้อมูลอยู่ภายใน ในปัจจุบันมีฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่ 40 กิกะไบต์ (GB) ขึ้นไป จึงสามารถเก็บข้อมูลได้มาก รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน ที่ต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะโปรแกรมประเภทกราฟฟิกหรือมัลติมีเดีย จำเป็นต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากพอจึงจะใช้งานได้

          
ซีดี – รอม (CD-ROM) ย่อมาจากคำว่า Compact Disk Read – Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากราคาไม่แพง มีอายุการใช้หลายปี และมีขนาดเล็ก ซีดีรอมเป็นแผ่นพลาสติกกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว ผิวหน้าเคลือบด้วยโลหะสะท้อนแสง เพื่อป้องกันข้อมูลที่บันทึกไว้บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ ปกติซีดีรอมในปัจจุบันจะมีความจุประมาณ 700 MB หรือเท่ากับหนังสือประมาณ 700,000 หน้า หรือเท่ากับฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 1.44 MB ถึง 700 แผ่น สามารถบันทึกข้อมูลได้มาก โดยเฉพาะงานด้านมัลติมีเดียทั้งภาพ แสง เสียง ในเวลาเดียวกัน ที่สำคัญ คือ เป็นระบบที่ปลอดภัยจากไวรัส
         
ดีวีดี – รอม (DVD-ROM) ย่อมาจาก Digital Video Disk Read – Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลรองชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากลักษณะคล้ายซีดีรอมแต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าซีดีรอมหลายเท่าคือ ขนาดมาตรฐานเก็บข้อมูลได้ 4.7 GB หรือ เท่าของซีดีรอม และพัฒนาต่อเนื่องไปตลอดดีวีดีแผ่นหนึ่งสามารถบรรจุภาพยนตร์ความยาวถึง 133 นาทีได้โดยใช้ลักษณะการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG-2 และระบบเสียงแบบดอลบี (Dolby AC-3) ปัจจุบันดีวีดีนิยมใช้ในการบันทึกภาพยนตร์และมัลติมีเดีย
                 



4. ซอร์ฟแวร์ Software

    คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้เลยหากปราศจาก ซอร์ฟแวร์ Software ที่จะคอยรับคำสั่งในรูปแบบต่าง ๆ ไปประมวลผล และแสดงผลออกมา

4.1 ชนิดของ software

      ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software-OS) หมายถึง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบัน คือ Windows 95, Windows 98, Windows 2000,Windows Me, Windows XP, Linux, DOS เป็นต้น

                    

      
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ เช่น Microsoft Word, Excel, PowerPoint เป็นต้น

                       

การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานด้านต่างๆ

       เมื่อหลายปีก่อน คอมพิวเตอร์มีอยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นระบบเมนเฟรม ซึ่งมีขนาดใหญ่และราคาแพง ส่วนมากจะใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากนัก แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีขนาดเล็กลง และ ราคาไม่แพงนัก คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้เหมือนกับ เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป ในหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้สูงขึ้น โดยปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์มีหลากหลายลักษณะ ได้แก่
      1. คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
      2. คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
      3. คอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร
      4. คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
      5. คอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
      6. คอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก
      7. คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย
      8. คอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และการสื่อสาร
      9. คอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม
      10. คอมพิวเตอร์ในวงราชการ

1. คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

    ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ในงานห้องสมุด การจัดทำตารางสอน เป็นต้น ตัวอย่างในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมรายงานการลงทะเบียนเรียน โปรแกรมตรวจข้อสอบ เป็นต้น

          

2คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม

    คอมพิวเตอร์สามารถทำงานในด้านวิศวกรรมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเขียนแบบ จนกระทั่งถึงการออกแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมต่างๆ ตลอดจนช่วยคำนวณโครงสร้าง ช่วยในการวางแผนและควบคุมการสร้าง
         

3. คอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์

    คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์สารเคมี เครื่องมือการทดลองต่างๆ แม้กระทั่งการเดินทางของยานอวกาศต่างๆ การถ่ายพื้นผิวโลกบนดาวอังคาร เป็นต้น
          

4. คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

    คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย มีความรวดเร็ว และถูกต้อง ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนงานทางด้านเอกสารงานพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น
         

5. คอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร

    ในแวดวงธนาคารนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากที่สุด เพราะธนาคารจะมีการนำข้อมูลTransaction) เป็นประจำทุกวัน การหาอัตราดอกเบี้ยต่างๆ นอกจากนี้การใช้บริการ ATM ซึ่งลูกค้าสามารถฝากถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งจะให้สะดวกแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน
         

6. คอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก

    ปัจจุบันเห็นได้ว่า ได้มีธุรกิจร้านค้าปลีกหรือที่เรียกว่า "เฟรนไซน์" เป็นจำนวนมาก ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการ ให้บริการลูกค้า เช่น ให้บริการชำระ ค่าน้ำ - ไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีการ online ระหว่างร้านค้าเหล่านั้นกับหน่วยงานนั้นๆ เพื่อสามารถตัดยอดบัญชีได้ เป็นต้น
         

7. คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์

    คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บประวัติของคนไข้ ควบคุมการรับและจ่ายยา ตลอดจนยังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด บันทึกการเต้นของหัวใจ ตรวจคลื่นสมอง และด้านการหาตำแหน่งของอวัยวะก่อนการผ่าตัด เป็นต้น
         

8. คอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และการสื่อสาร

    ในยุคปัจจุบัน เราเรียกว่าเป็นยุคที่เป็นการสื่อสารแบบไร้พรมแดน จะเห็นได้ว่า มีการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆในเครือข่ายสาธารณะ ที่เรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถที่จะสื่อสาร กับทุกคนได้ทั่วมุมโลก โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ และยังมีโปรแกรมที่ สามารถจะใช้ในการพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันใช้คุยกัน หรือจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสาร กับเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านหรือที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการส่ง pager ในปัจจุบันสามารถส่งทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องลูกได้ เป็นต้น สำหรับการใช้คอมพิวเตอร์ ในทางโทรคมนาคมจะเห็นว่า ปัจจุบันการจองตั๋วเครื่องบิน จะมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนมาก รวมถึงการจองตั๋วผ่านทาง Internet ด้วยตนเอง เห็นได้ว่าเพิ่มความสะดวกสบาย ให้แก่ผู้ใช้บริการ และนอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายของสายการบินทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกจองได้ ตามสายการบินต่างๆ เป็นต้น ตัวอย่าง การตรวจสอบราคาค่าโดยสาร และเวลาของแต่ละเที่ยวบินผ่านทาง internet

          

9. คอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม

    ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่า คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต จนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า ควบคุมระบบ การผลิตทั้งหมด ในรายงานทางอุตสาหกรรม ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ใน การควบคุมการทำงานของเครื่องจักร เช่น การเจาะ ตัด ไส กลึง เป็นต้น ตลอดจนโรงงานผลิตรถยนต์ ก็จะใช้ หุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ในการทาสี พ่นสี รวมถึงการประกอบรถยนต์ เป็นต้น
         

10. คอมพิวเตอร์ในวงราชการ

       คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานทะเบียนราษฎร์ ช่วยในการนับคะแนนการเลือกตั้ง และการประกาศผลเลือกตั้ง การคิดภาษีอากร การเก็บข้อมูลสถิติสัมมโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าใช้โทรศัพท์ เป็นต้น
         

6. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม

       ในบทนี้จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลก ผลกระทบ

6.1 การเปลี่ยนแปลงของโลก

      เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปสู่สังคมข่าวสาร ผลกระทบย่อมเกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบ เราจะเตรียมพร้อมรับการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้อย่างไร

6.1.1 ความหมายของสังคมสารสนเทศ

         สังคมสารสนเทศหรือสังคมข่าวสาร (The information society) เป็นสังคมที่มีการใช้สาร
สนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ในสังคมสารสนเทศจะทำให้เราได้รับสารสนเทศที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการและทันเวลา ในสังคมสารสนเทศ เราสามารถแบ่งกลุ่มเทคโนโลยีต่างๆที่จัดอยู่ในประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้ คือ 1) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ 2) เทคโนโลยีโทรคมนาคมหรือการสื่อสารข้อมูล

6.1.2 คุณลักษณะของสังคมสารสนเทศ

         สังคมสารสนเทศมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
                1. เป็นสังคมที่มีการใช้สารสนเทศที่บันทึกอยู่บนสื่อที่เป็นเอกสาร สิ่งพิมพ์ และไม่ตีพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสียงภาพ
                2. เป็นสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT เพื่อการได้มา จัดเก็บ ประมวลผล สืบค้นและเผยแพร่สารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างรวดเร็วถูกต้องและทันเวลา
                3. เป็นสังคมที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่มีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นตัวควบคุมการทำงาน เครื่องอำนวยความสะดวกในบ้านและในสำนักงาน ตัวอย่างเช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กันขโมย ระบบควบคุมไฟฟ้า เป็นต้น
               4. เป็นสังคมที่ผู้ใช้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ด้วยตนเองทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอันนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตและการเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบการด้านต่างๆ

6.1.3 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

         ผลกระทบทางบวก
              1. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์
              2. ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น
              3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่
              4. ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
              5. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
              6. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง
              7. ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
              8. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย

          
ผลกระทบทางลบ
              1. ทำให้เกิดอาชญากรรม
              2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
              3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล
              4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ
              5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น
              6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว

6.2 ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

      อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆขึ้น ตัวอย่างปัญหาอาชญากรรมบนเครือข่าย เช่น การขโมยข้อมูลหรือสารสนเทศในขณะที่ส่งผ่านไปบนระบบเครือข่าย การแอบใช้รหัสผ่านของผู้มีอำนาจเพื่อเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นความลับ การให้บริการสารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดการหลอกลวง และมีผลเสียติดตามมาลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จักกันดี ได้แก่ แฮกเกอร์ (Hacker) และแครกเกอร์  (Cracker) แฮก-เกอร์ คือ ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย สามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานสำคัญๆ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย แต่ไม่ทำลายข้อมูล หรือหาประโยชน์จากการบุกรุกคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แต่ก็ถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนแครกเกอร์ คือ ผู้ซึ่งกระทำการถอดรหัสผ่านข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถนำเอาโปรแกรม หรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ใหม่ได้ เป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการลักลอกหรือเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง
       การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ เป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การนำเอาข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อ
ให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง และเพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูลโดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ต และผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักถึงบทบาทและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพของตนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น

6.3 ทรัพย์สินทางปัญญา

      ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นผลผลิตที่เกิดจากความคิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายความลับทางการค้า (Trade Secret) กฎหมายลิขสิทธิ์ (Copyright) และสิทธิบัตร (Patent) ตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟต์แวร์ เพราะเป็นเรื่องที่กระทำได้ง่ายมาก ซึ่งในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ จะพบว่าบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้สูญเสียเงินในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น