วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ติดต่อเรา

facebook : Jakkit Sukjam

ลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลาลา

หน่ยวที่5

บทที่ 5 พื้นฐาน Microsoft Excel 2010


พื้นฐาน Microsoft Excel 2010

โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมหนึ่ง ที่จัดอยู่ในชุด Microsoft Officeโปรแกรม MS Excel ใช้ในงานด้าน การคำนวณเกี่ยวกับตัวเลข และการทำบัญชี ต่างๆ การทำงานของโปรแกรม ใช้ตารางตามแนวนอน (rows) และแนวตั้ง (columns) เป็นหลัก ซึ่งเราเรียกโปรแกรมในลักษณะนี้ว่าเป็น Spread Sheet
ไฟล์ของ Excel เปรียบเสมือนหนังสือ เล่ม ที่ประกอบไปด้วยหน้า หลาย ๆ หน้า ไฟล์ของ Excel เรียกว่าเป็นสมุดงาน (Workbook) และในแต่ละหน้า เรียกว่า เป็น แผ่นงาน (Worksheet) ในแต่ละแผ่นงาน จะแบ่งออกเป็นตาราง ซึ่งประกอบไปด้วย ช่องตาราง จานวนมาก ซึ่งเรียกว่า เซลล์ (Cell) เซลล์คือส่วนตัดกันของแถวและคอลัมน์ ใน แผ่นงานหนึ่ง ๆ ของExcel 2010 จะมีแถวทั้งหมด 1,048,576 แถว และ จะมี คอลัมน์ทั้งหมด จานวน 16,384คอลัมน์ โดยเรียงชื่อตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ จนถึง และ ต่อด้วย AA จนถึง AZ, BA จนถึง BZ ไปจนถึง XFD และในสมุดงานหนึ่ง ๆ จะมีแผ่นงานได้จำนวนมาก ขึ้นอยู่กับหน่วยความจำที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
ในแต่ละช่องตาราง หรือ Cell จะบรรจุข้อมูลต่าง ๆ เราพิมพ์ข้อมูลลงในช่องตาราง แต่ละช่อง  เช่นพิมพ์ข้อความ พิมพ์ตัวเลข เป็นต้น เมื่อเวลาจะอ้างอิงถึงข้อมูล เราก็อ้างอิงถึง ช่องตาราง โดยการระบุ คอลัมน์และแถว เช่น B4 หมายถึงช่องตารางที่ตรงกับ คอลัมน์ และ

ส่วนประกอบหน้าต่าง Excel 2010 พื้นฐานที่ควรรู้

 


ส่วนบนของหน้าจอ ซึ่งประกอบไปด้วยแท็บต่าง ๆ โดยปกติจะมี จำนวน แท็บ ได้แก่ หน้าแรก แทรก เค้าโครงหน้ากระดาษ สูตร ข้อมูล ตรวจทาน และมุมมอง และในแต่ละแท็บ จะประกอบไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งจะมีคำสั่งที่มักจะใช้ด้วยกัน รวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน


 



รายละเอียดประกอบดังนี้
     -  เมนูแฟ้ม แท็บแฟ้ม เป็นแท็บพิเศษไม่ถือเป็นแถบบนริบบิ้นเพราะใช้จัดการเกี่ยวกับไฟล์ หรือแฟ้ม เช่น การเปิด-ปิดไฟล์ การสร้างไฟล์ใหม่ การบันทึกไฟล์ ตลอดจนการตั้งค่าตัวเลือกต่าง ๆ เป็นต้น
    -   เมนูหน้าแรก เป็นแท็บที่รวมลักษณะการใช้งานทั่ว ๆ ไป เช่น การคัดลอก การวาง การกำหนดตัวอักษร การจัดรูปแบบ การกรองข้อมูล ตลอดจนการค้นหาข้อมูล เป็นต้น
    -   เมนูแทรก เป็นแท็บสำหรับแทรก ตาราง ภาพ รูปร่างอัตโนมัติ อักษรศิลป์ สัญลักษณ์ การเชื่อมโยง เป็นต้น
    -   เมนูเค้าโครงหน้ากระดาษ เป็นแท็บสำหรับการตั้งค่ากระดาษเพื่อพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ เช่น ตั้งระยะขอบกระดาษ กำหนดขนาดกระดาษ พิมพ์แนวตั้งหรือแนวนอน เป็นต้น
  -    เมนูสูตร ใช้แท็บนี้เมื่อต้องการคำนวณค่าต่าง ๆ เช่น การรวม การเรียกใช้สูตรของ Excel เป็นต้น
   - เมนูข้อมูล แท็บนี้ใช้สาหรับการรับข้อมูลจากภายนอกเพื่อมาวิเคราะห์ใน Excel เช่น นาข้อมูลจาก ฐานข้อมูลAccess เป็นต้น นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก ๆ เช่น การเรียงข้อมูล การกรองข้อมูล การจัดกลุ่มข้อมูล เป็นต้น
    -   เมนูตรวจทาน เป็นแท็บหรับการตรวจตัวสะกดการันต์ ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับแผ่นงาน เช่น การป้องกันการแก้ไขข้อมูลบนแผ่นงาน เป็นต้น
 -      เมนูมุมมอง เป็นแท็บสำหรับแสดงแผ่นงานในมุมมองต่าง ๆ เช่น แบบปกติ แบบเต็มหน้า กำหนดให้มีหรือไม่มีเส้นตาราง ย่อ/ขยาย ตลอดจนการแบ่งหน้าจอออกเป็นส่วน ๆ 
การเปรียบเทียบข้อแตกต่าง
สำหรับ version 2010 นั้นได้ปรับเปลี่ยนหน้าตาตาก version 2007 เพียงเล็กน้อย โดยเปลี่ยนปุ่ม Office Button กลับเป็น Menu File แต่ยังคงรูปแบบ Ribbon ไว้

 

  


                            
การจัดเก็บข้อมูลใน Microsoft Excel 2010
                                                                                                                              
          


     เทคนิคการป้อนข้อมูลลงเซลล์

ข้อมูลในเซลล์ มีทั้งตัวเลขและตัวอักษร ตัวเลขสามารถนำไปคำนวณค่าต่าง ๆ ได้โดยการระบุตำแหน่งของตัวเลข โดยปกติตัวเลขจะจัดชิดขวาของเซลล์ สำหรับข้อความหรือตัวอักษรจะจัดชิดซ้าย ในกรณีที่มีทั้งข้อความและตัวเลขภายในเซลล์เดียวกัน Excel จะถือว่าเป็นข้อความ ไม่สามารถนำไปคำนวณได้
}  Auto Complete ช่วยในการป้อนข้อมูลซ้ำๆกัน
}  Auto Fill ช่วยในการป้อนข้อมูลที่เป็นลำดับขั้น เช่น ตัวเลข หรือ เดือน
การเลือกช่วงข้อมูล (Select Cell)
1.             เลือก Cell เดียว
2.             เลือกกลุ่ม Cell ที่อยู่ติดกัน
3.             เลือกกลุ่ม Cell ที่ไม่ติดกัน
4.             เลือก Cell ทั้งหมดใน Column หรือ Row
5.             เลือก Cell ทั้งหมดใน Worksheet
*      การปรับขนาดความ กว้าง/สูงของ Cell
*      การแทรก Cell, Column, Row
*      การลบ Cell, Column, Row
*      การซ่อน Column, Row
การจัดการ Workbook                                                    การจัดการ Worksheet
Ø   การเลือกใช้ Worksheet                                    
Ø   การเปลี่ยนชื่อ Worksheet                                
Ø   การเพิ่ม Worksheet                                           
Ø   การลบ Worksheet                                             
มุมมองใน Microsoft Excel 2010
}  Normal
มุมมองปกติ ที่ใช้งาน Excel
}  Page Layout
มุมมองเอกสารก่อนพิมพ์
}  Page Break Preview
มุมมองที่ช่วยจัดหน้าและขอบเขตการพิมพ์
การกำหนดรูปแบบการแสดงข้อมูล (Format Cell)
v การผสาน Cell (Merge Cell)
v กำหนดรูปแบบข้อความและตัวเลข (Font & Number)
v การจัดวางตำแหน่งข้อมูลภายใน Cell (Alignment)
v การตกแต่ง Cell (Cell Styles)
vการตกแต่งตารางอัตโนมัติ (Format as Table) 

การผสาน
 Cell (Merge Cell)
}  Merge & Center
}  Merge & Across
}  Merge Cell
}  Unmerge Cell                        ภาพประกอบที่ 6 แสดงการผสานเซลล์
กำหนดรูปแบบข้อความและตัวเลข (Font & Number)




 




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเภทตัวเลข Microsoft Excel 2010






การจัดวางตำแหน่งข้อมูลภายใน Cell (Alignment)  เช่น จัดกึ่งกลาง ซิดขอบ ซ้าย- ขวา 

                                                                                                                                  
                                                                                                         

                                                                                                               
 การตกแต่ง Cell (Cell Styles)  การตกแต่ง สีตัวอักษร และสีพื้นของข้อมูล


 


                
การตกแต่ง Cell (Format Cell)   เช่น  การกำหนดเส้นขอบของตารางในรูปแบบต่างๆ



 



                       
การตกแต่งตารางอัตโนมัติ  (Format as Table)

 

การคำนวณใน Microsoft Excel 2010
          การใส่สูตรคำนวณใน Excel มีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจดังนี้
Ø  กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการคำนวน
Ø  ลำดับความสำคัญของเครื่องหมาย
Ø  เครื่องหมายคำนวนทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Formula)
Ø  เครื่องหมายการเชื่อมข้อความ (Text Formula)
Ø  เครื่องหมายในการเปรียบเทียบ (Comparison Formula)
Ø  เครื่องหมายในการอ้างอิง (Reference Formula)
Ø  เครื่องหมายในการอ้างอิง (Reference Formula)
เครื่องหมายคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Formula)
เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่างสูตร
+
บวก
=100-3*8+10-5^2
ผลลัพธ์เท่ากับ 61
-
ลบ
*
คูณ
/
หาร
%
เปอร์เซ็นต์
^
ยกกำลัง
                            ภาพที่ 14  แสดงเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์

ฟังก์ชันการคำนวณ (Function)
                การใช้ Function คล้ายกับการใช้สูตรคำนวนทางคณิตศาสตร์ โดยมีรูปแบบการใช้งานคือ               = function(argument1, argument2, ...)
ตัวอย่างเช่น =SUM(A1:D10)
         การใช้งานสามารถป้อน Function ลงใน Formula Bar เหมือนกับการป้อนสูตรคำนวณ หรือใช้ Function Wizard ช่วย

ตัวอย่าง Function ที่ใช้งานบ่อย
Function
รูปแบบ
การใช้งาน
SUM
SUM(กลุ่ม Cell)
ผลรวมจากกลุ่ม Cell
AVERAGE
AVERAGE(กลุ่ม Cell)
ค่าเฉลี่ยจากกลุ่ม Cell
COUNT
COUNT(กลุ่ม Cell)
นับจำนวน Cell จากกลุ่ม Cell
MAX
MAX(กลุ่ม Cell)
ค่าสูงสุดจากกลุ่ม Cell
MIN
MIN(กลุ่ม Cell)
ค่าต่ำสุดจากกลุ่ม Cell
BAHTTEXT
BAHTTEXT(Cell ตัวเลข)
เปลี่ยนตัวเลขจาก Cell เป็นตัวอักษรแสดงจำนวนเงินบาทไทย

หน่ยวที่4

บทที่ 4 การเรียกใช้งานโปรแกรม Microsoft Word 2010

โปรแกรม Microsoft Word 2010
เป็นโปรแกรมประมวลผลคำ  (Word Processing Application ) ที่สามารถทำงานได้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ สามารถติดตั้งได้บนระบบปฏิบัติการ Windows XP/7/8 โปรแกรมมีความสามารถในการใช้ทำงานด้านเอกสาร เช่น จดหมาย รายงาน บันทึกข้อความ ใบประกาศ และคู่มือการใช้งานต่างๆ  การจัดการกับข้อความในเอกสาร ได้อย่างง่าย เช่น การแก้ไขข้อความ ตกแต่งด้วยสี และแบบตัวอักษร การใส่ตาราง รูปภาพ การตรวจสอบตัวสะกดและไวยากรณ์ การทำจดหมายเวียน และการใช้งานเอกสารร่วมกัน นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกเอกสารในรูปแบบของ XML เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแยกเนื้อหาของเอกสารออกจากขอบเขตของรูปแบบของเอกสาร
การใช้โปรแกรม Microsoft Word 2010
          ก่อนเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Microsoft Word 2010เพื่อสร้างเอกสารรายงานต่าง ๆ เราจำเป็นต้องรู้วิธีการเรียกใช้งาน ที่ถูกต้อง เพื่อให้ใช้โปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรม
          หลักจากที่เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้ว การเรียกใช้งานโปรแกรม Microsoft Word 2010
มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. คลิกที่ปุ่ม  Start  ที่อยู่บนทาสก์บาร์ (Taskbar)
2. เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปที่คำว่า All Programs แล้วคลิกเลือกคำสั่ง

รื่อง ส่วนประกอบหน้าจอของโปรแกรม Microsoft Word 2010

 
1. แถบแสดงชื่อเรื่อง (Title Bar) = แสดงชื่อของโปรแกรมและชื่อเอกสารที่กำลังใช้งานอยู่
2. แถบเครื่องมือด่วน (Quick Access) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงคำสั่งที่ใช้งานบ่อย
3. ปุ่ม แฟ้ม (File) = เป็นส่วนที่ทำหน้าที่จัดเก็บคำสั่งที่ใช้ในการทำงานเอกสาร
4. ปุ่มควบคุม (Control Button) = เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมการเปิด หรือปิดหน้าต่างโปรแกรม
5. ริบบอน (Ribbon) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงรายการคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานกับเอกสาร
6. แถบเลื่อน (Scroll Bar) = ใช้สำหรับเลื่อนดูหน้าเอกสารที่ไม่สามารถแสดงได้ในหน้าเดียว
ซึ่งสามารถเลื่อนได้ทั้งบน ล่าง ซ้าย ขวา
7. แถบแสดงสถานะ (Status Bar) = แสดงสถานะการทำงาน เช่น จำนวนหน้า
8. ไม้บรรทัด (Ruler) = แสดงความกว้างยาวของกระดาษ ตั้งแท็บ ย่อหน้า ตั้งค่ากระดาษ
9. ย่อ/ขยาย (Zoom in/out) = ใช้สำหรับย่อ และขยายหน้าเอกสาร
10. ตำแหน่งการพิมพ์ (Insertion Point) = แสดงตำแหน่งเริ่มต้นในการพิมพ์ข้อความ
11. ปุ่มมุมมอง (View Button) = ในสำหรับมองเอกสารในรูปแบบต่างๆ
12. พื้นที่สำหรับการพิมพ์ (Text Area) = เป็นส่วนที่ใช้ในการพิมพ์และแสดงข้อความ
เรื่อง การใช้เมนูและแถบเครื่องมือเร่งด่วน
แถบเมนู (Menu Bar)
แถบเมนูเป็นที่เก็บคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม การเรียกใช้งานแถบเมนูทำได้โดยการเลื่อนเมาส์มาว่าง ที่ชื่อเมนูที่ต้องการเปิด แล้วเลื่อนเมาส์ไปตามรายการคำสั่ง เมื่อต้องการใช้  คำสั่งใด ๆ ก็ให้คลิกเมาส์ที่คำสั่งนั้น โปรแกรมก็จะทำการเรียกใช้งานคำสั่งนั้น ๆ ถ้าคำสั่ง นั้นมีเมนูย่อย ๆ โปรแกรมก็จะแสดงรายการคำสั่งย่อย ๆ ออกมาให้เลือกต่อไป
          โปรแกรมเวิร์ดบางรุ่น จะมีแถบเมนูคล้าย ๆ กันคือ แฟ้มหน้าแรกแทรกเค้าโครงหน้ากระดาษการอ้างอิงการส่งจดหมาย,  ตรวจทานมุมองรูปแบบ,วิธีใช้ แต่ละเมนูมีคำสั่งการใช้งานแตกต่างกันออกไป
แถบเครื่องมือเร่งด่วน (Toolbars)
          แถบเครื่องมือเร่งด่วน เป็นสัญลักษณ์ (Icon) ที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ แถบเครื่องมือที่โปรแกรมได้จัดเตรียมไว้ให้นั้นมีอยู่มากมายหลายชุดด้วยกัน แต่แถบเครื่องมือเหล่านี้จะไม่ได้ถูกแสดงให้เห็นทั้งหมดในโปรแกรมเวิร์ด จะแสดงบนแถบเครื่องมือเร่งด่วนโดยที่จะมีคำสั่งพื้นฐานจัดอยู่ในแถบเครื่องมือ สามารถตั้งค่าในการนำเครื่องมือมาใช้ได้ซึ่งมีรายการคำสั่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

                แถบเครื่องมือเร่งด่วน
ลำดับที่ ชื่อภาษาอังกฤษ                     ชื่อภาษาไทย                         หน้าที่
     1        New                            สร้าง                       สร้างเอกสารใหม่
     2        Open                           เปิด                         เปิดเอกสารเดิมที่เคยมีการบันทึกไว้
     3        Save                            บันทึก                      บันทึกเอกสารลงดิสก์
     4        Print                            พิมพ์                        พิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์แบบ
ด่วน
     5        Print Preview                 ตัวอย่างก่อนพิมพ์          แสดงตัวอย่างเอกสารก่อนการพิมพ์จริง
     6        Spelling&Gamma สะกดและไวยากรณ์       ตรวจสอบการสะกดคำและไวยากรณ์
     7        Cut                              ตัด                          ลบข้อความที่เลือก
     8        Copy                           คัดลอก                     คัดลอกข้อความที่เลือกเก็บในคลิป
บอร์ด
     9        Paste                           วาง                         วางข้อความที่เก็บในคลิปบอร์ด
     10      Undo                           เลิกทำ                      ยกเลิกคำสั่งรายการที่ผ่านมา
     11      Redo                           ทำซ้ำ                       ทำคำสั่งที่ถูกยกเลิกอีกครั้ง
     12      Hyperlink                    แทรกการเชื่อมโยง         สร้างตำแหน่งที่ต้องการเชื่อมโยงไปยัง
เอกสารอื่น
     13      Insert Table                  แทรกตาราง               สร้างตาราง

            แถบเครื่องมือ จัดรูปแบบ(หน้าแรก)
ลำดับที่           ชื่อภาษาอังกฤษ           ชื่อภาษาไทย     หน้าที่
     1             Font                       แบบอักษร        เปลี่ยนแบบของตัวอักษร
     2             Font Size                 ขนาดอักษร      เปลี่ยนขนาดของตัวอักษร
     3             Bullets                    สัญลักษณ์หัวข้อ  เติมจุดหรือสัญลักษณ์หน้าข้อความ
     4             Numbering               ลำดับเลข         เติมเลขลำดับในข้อความ
     5             Decrease Indent        ลดการเยื้อง      เลื่อนย่อหน้าไปทางซ้าย 1 ชั้น
     6             Increase Indent         เพิ่มการเยื้อง     เลื่อนย่อหน้าไปทางขวา 1 ชั้น
     7             Style                       ลักษณะ          แสดงหรือเปลี่ยนรูปแบบของข้อความ
     8             Bold                       ตัวหนา           กำหนดให้ตัวอักษรเป็นตัวหนา
     9             Italic                       ตัวเอียง           กำหนดให้ตัวอักษรเป็นตัวเอียง
    10            Underline                ขีดเส้นใต้         กำหนดให้ตัวอักษรมีขีดเส้นใต้
    11            Highlight                  เน้น               เติมแถบสีเพื่อเน้นข้อความ
    12            Font Color               สีแบบอักษร      กำหนดสีให้กับตัวอักษรที่พิมพ์
    13            Align Left                 จัดชิดซ้าย        จัดข้อความชิดซ้าย
    14            Center                    กึ่งกลาง           จัดข้อความให้อยู่กึ่งกลาง
    15            Align Right                จัดชิดขวา        จัดข้อความชิดขวา
    16            Justify                     ชิดขอบ           จัดข้อความให้ชิดขอบซ้ายและขวาให้เท่ากัน
    17            Thai Justify               จัดคำแบบไทย   จัดข้อความให้ชิดขอบซ้ายและขวาโดยมีการ
เพิ่มระยะห่างของตัวอักษร
    18            Outside Border          ภายนอกขอบ    เพิ่มหรือลบขอบให้กับข้อความ หรือตาราง
เรื่อง การสร้างเอกสารและกำหนดคุณสมบัติของเอกสาร
     สร้างเอกสาร Word
               เมื่อเข้าสู่โปรแกรม  Word  แล้วจะได้หน้าต่างเอกสารว่าง ๆ 
    หนึ่งหน้าพร้อมกับมีเคอร์เซอร์กระพริบอยู่   ถ้าดูที่ไตเติลบาร์
    จะพบข้อความว่า  Document1 – Microsoft Word  ซึ่งเป็นชื่อของเอกสารที่กำลังถูกเปิดใช้งานอยู่ 
     การเปิดแฟ้มเอกสารใหม่
เอกสารใน Word  แบ่งออกเป็น 2  ลักษณะคือเอกสารใหม่และเอกสารเก่าที่สร้างไว้ แล้ว  โดยปกติเมื่อเปิด  Word 
ขึ้นมาจะได้เอกสารใหม่ขึ้นมาหนึ่งเอกสาร แต่ถ้าต้องการจะ
         สร้างเอกสารใหม่ขึ้นมาเอง  มีวิธีการสร้างดังนี้
1. คลิกที่คำสั่งแฟ้ม  เลือกคำสั่งย่อย  สร้าง  หรือ ใช้คีย์ลัดโดยกดที่ปุ่ม <Ctrl>+ <N>
            หรือ  คลิกที่ปุ่ม  สร้างบนทูลบาร์   ก็จะได้เอกสารเปล่า ๆ  ขึ้นมา
    การสร้างด้วยไอคอน New เป็นการสร้างเอกสารแบบด่วน เมื่อคลิกปุ่มนี้เอกสารจะถูกสร้างขึ้นใหม่ทันทีพร้อมที่รับพิมพ์งานใหม่ดังรูป
2.  การเปิดแฟ้มเอกสารที่สร้างไว้แล้ว   ในบางครั้งเราจำเป็นจะต้องใช้เอกสาร
    เดิมที่ได้สร้างเอาไว้แล้ว  เพื่อนำมาแก้ไข  หรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร  วิธีการเปิด
    เอกสารที่สร้างไว้แล้วดังนี้
                   2.1  คลิกที่คำสั่งแฟ้ม  เลือกคำสั่งย่อย  เปิด  หรือใช้คีย์ลัดโดยกดที่ปุ่ม  <Ctrl> + <O>  หรือคลิกที่ปุ่ม  เปิดบนทูลบาร์
            จะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์  เปิดขึ้นมาให้เลือกเปิดไฟล์ที่ต้องการ 
2.2  คลิกที่ Computer  แล้วเลือกไดร์  หาโฟลเดอร์ที่ต้องการ
2.3  คลิกที่ชื่อเอกสาร  หรือ พิมพ์ชื่อเอกสารที่จะเปิดในช่อง  ชื่อแฟ้ม
2.4  คลิกปุ่ม   เปิด  ในไดอะล็อกบ็อกซ์    ก็จะได้ดังรูป 

         การกำหนดคุณสมบัติเอกสาร
                      เนื่องจากเอกสารบางชนิด จำเป็นต้องได้ขนาดและข้อมูลเฉพาะ ดังนั้นเอกสารจึงต้อง
           กำหนดคุณสมบัติเพื่อให้ชิ้นงานตามความต้องการ ซึ่งพื้นฐานในการกำหนดคือขนาดของงาน
            และจุดเริ่มต้นของการพิมพ์งานนั้นคือระยะขอบกระดาษ โดยมีวิธีการดังนี้
          1. คลิกเมาส์ที่ริบบอน  เค้าโครงหน้ากระดาษ
          2. เลือกคำสั่งตั้งค่าหน้ากระดาษดังรูป
    
3. เมื่อคลิกเลือกคำสั่งแล้วจะปรากฏหน้าจอการกำหนดข้อมูลดังนี้
การตั้งระยะขอบ ต้องกำหนดระยะขอบกระดาษตามการใช้งานจริงที่นักเรียนวัดได้จากใบงานที่แจกให้
                             กำหนดขอบบน                      กำหนดขอบล่าง
                             กำหนดขอบซ้าย                     กำหนดขอบขวา
4. กำหนดขนาดของกระดาษโดยการคลิกที่แท็บขนาดกระดาษจะปรากฏข้อมูลดังนี้
เรื่อง การคัดลอกและการย้ายข้อมูล
        1. คัดลอกข้อมูล
          ให้นักเรียนกำหนดคุณสมบัติของเอกสารดังนี้
                   1. ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยใช้กระดาษขนาด A 4 วางในแนวตั้ง
                   2. กำหนดขอบกระดาษ         ด้านบน            2.5 ซม.
                                                          ด้านล่าง         2.5 ซม.
                                                          ด้านซ้าย         3.0 ซม.
                                                          ด้านขวา         2.5 ซม.
          ป้อนข้อความในเอกสารดังนี้
                การใช้งานโปรแกรมเวิร์ด โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมจัดการเกี่ยวกับเรื่องเอกสาร เช่น จดหมาย หนังสือ และรายงานคนที่จะใช้โปรแกรมนี้ได้เก่งต้องฝึกพิมพ์ให้เก่งด้วย
    ให้ทำซ้ำข้อมูลดังอีก 1 ชุด
          การทำซ้ำสามารถทำได้หลายวิธี การพิมพ์ใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นการเสียเวลามากดังนั้น
          เรามีวิธีการทำซ้ำข้อมูลคือ
                1. นำเมาส์ไปว่ายังตำแหน่งแรกหรือทำแต่งท้ายสุดของข้อมูลดังรูป
การใช้งานโปรแกรมเวิร์ด โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมจัดการเกี่ยวกับเรื่องเอกสาร เช่น จดหมาย หนังสือ และรายงาน

                   2.คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วเลื่อนเมาส์คลุมข้อความที่ต้องการคัดลอกทั้งหมด                   ดังรูป
                    3. คลิกที่เมนูคำสั่งแก้ไขดังรูป หรือที่แถบเครื่องมือสัญลักษณ์นี้
                    นำเมาส์ไปยังตำแหน่งการพิมพ์ที่ต้องการดังรูปการใช้งานโปรแกรมเวิร์ด โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมจัดการเกี่ยวกับเรื่องเอกสารเช่น จดหมาย หนังสือ และรายงานคนที่จะใช้โปรแกรมนี้ได้เก่งต้องฝึกพิมพ์ให้เก่งด้วย
            คลิกที่เมนูคำสั่ง แก้ไข แล้วเลือกคำสั่งวาง  หรือสัญลักษณ์นี้“        ”
             เราก็จะได้ข้อความอีก 1 ชุด ที่เหมือนกันทุกประการ
การใช้งานโปรแกรมเวิร์ด โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ
หรือโปรแกรมจัดการเกี่ยวกับเรื่องเอกสาร เช่น จดหมาย หนังสือ และรายงานคนที่จะใช้โปรแกรมนี้ได้เก่งต้องฝึกพิมพ์ให้เก่งด้วยการใช้งานโปรแกรมเวิร์ด โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมจัดการเกี่ยวกับเรื่องเอกสาร เช่น จดหมาย หนังสือ และรายงาน คนที่จะใช้โปรแกรมนี้ได้เก่งต้องฝึกพิมพ์ให้เก่งด้วย
2. การย้ายข้อมูล
     การย้ายข้อมูลมีวิธีการทำเหมือนกับการคัดลอกข้อมูลแต่เปลี่ยนจากคำสั่งคัดลอกเป็นคำสั่งตัดดังรูป
      แล้วทำการขั้นตอนของการคัดลอกทั้งหมดจะได้ข้อมูลเหมือนเดิมแต่ย้ายตำแหน่งไปตามที่เราต้องการ
เรื่อง การบันทึกข้อมูล
        1. ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยใช้กระดาษขนาด A 4 วางในแนวตั้ง
                   2. กำหนดขอบกระดาษ         ด้านบน          2.5 ซม.
                                                          ด้านล่าง         2.5 ซม.
                                                          ด้านซ้าย         3.0 ซม.
                                                          ด้านขวา         2.5 ซม.
          ป้อนข้อความในเอกสารดังนี้
                    การใช้งานโปรแกรมเวิร์ด โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมจัดการเกี่ยวกับเรื่องเอกสาร เช่น จดหมาย หนังสือ และรายงานคนที่จะใช้โปรแกรมนี้ได้เก่งต้องฝึกพิมพ์ให้เก่งด้วย
ให้นักเรียนจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกตามขั้นตอนดังนี้
       1. การบันทึกข้อมูลครั้งแรก
              1. คลิกเมาส์ที่ปุ่มบนแถบเครื่องมือ หรือกดปุ่ม Ctrl + S หรือเลือกคำสั่ง จาก
                เมนูแฟ้ม เลือกบันทึก จะปรากฏข้อมูลดังรูปนี้


 

            2. กำหนดตำแหน่งในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งปกติโปรแกรมจะเก็บที่ตำแหน่งมาตรฐาน
                คือ My Documents ซึ่งอยู่ในไดร์ฟ C: ถ้าต้องการเปลี่ยนก็สามารถเปลี่ยนได้ เช่น บันทึกลง
                แผ่นดิสก์ หรือไดร์ฟอื่น ๆ ตามตัวอย่างนี้ไม่ต้องเปลี่ยน

          3. พิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ แฟ้มหรือภาษาอังกฤษคือ File โดยนำเมาส์มาคลิกที่ตำแหน่งของช่อง 
                ชื่อแฟ้มดังรูปตั้งชื่อแฟ้มตามที่ต้องการ
          4. คลิกที่ปุ่มบันทึกเพื่อสั่งให้จัดเก็บดังรูป
        การบันทึกข้อมูลครั้งต่อไปถ้าต้องการบันทึกเป็นชื่อเดิมสามารถคลิกที่ปุ่ม ซึ่งข้อมูลจะบันทึกให้ในชื่อเดิม 
           2.   การบันทึกข้อมูลครั้งแรก
การบันทึกเปลี่ยนชื่อ หรือ Save As คือ การบันทึกเพื่อให้งานนี้เป็น 2 แฟ้มนั้นเอง เพื่อป้องกันเอกสารสูญหาย
 หรืออาจทำสำเนาเพื่อป้องกันการสูญหาย วิธีการบันทึก ทำดังนี้คือ
          1. เมนูแฟ้ม เลือกบันทึกแฟ้มเป็น  จะปรากฎข้อมูลดังรูปนี้
2. เปลี่ยนชื่อแฟ้มใหม่โดยการลบข้อมูลชื่อแฟ้มเดิมออก และบันทึกข้อมูลเป็น
                ชื่อตามที่ต้องการ
          3. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม บันทึกดังรูป
          เราก็จะได้แฟ้มข้อมูลอีกหนึ่งแฟ้มที่มีลักษณะของเอกสารเหมือนกับแฟ้มที่ 1
เรื่อง การเปิดแฟ้มข้อมูล

การเปิดแฟ้มเอกสารที่เคยบันทึกไว้สามารถทำได้หลายคำสั่งเช่น การสั่งจากเมนูคำสั่ง
การสั่งจากปุ่มคำสั่ง และการสั่งจากแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งมีวิธีการดังนี้
            1. การเปิดจากเมนูคำสั่ง
                          - คลิกเมาส์ที่เมนูคำสั่ง แฟ้ม
                          - เลือกคำสั่ง เปิด
            2. การเปิดจากปุ่มคำสั่ง
                          - คลิกเมาส์ที่ปุ่ม 
            3. การเปิดจากแป้นคีย์บอร์ด
                          - กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วกด O (โอ)
        เมื่อเราใช้คำสั่งในการเปิดแฟ้มข้อมูลแล้วจะปรากฏข้อหน้าจอดังนี้

 

 
เมื่อเราต้องการเปิดแฟ้มใด ให้คลิกเมาส์ที่ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเปิด
  เช่น ถ้าเราต้องการเปิดชื่อ ตามที่เราต้องการเราก็คลิกเมาส์ที่ชื่อแล้วคลิกที่ปุ่ม เปิด
เราก็จะได้ข้อมูลดังที่เราต้องการดังรูป